วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556

ตำนาน นางนาค แห่งบางพระโขนง วิญญาณรักที่ยังไม่ตาย


แม่นาคพระโขนง




      เรื่องราวของ นางนาค แห่งพระโขนง มีการเล่าขานกันมานานแล้วครับ และเชื่อว่าเป็นเรื่องจริง แต่ไม่มีหลักฐานยืนยันว่า นางนาคมีตัวตนจริงๆ คงเป็นเรื่องเล่าของคนโบราณ ที่เคยถูกผีนางนาคหลอกกันต่อๆมา ความมีชื่อเสียงของแม่นาคได้ทำให้วัดมหาบุศย์ ริมคลองประเวศบุรีรัมย์ แขวงพระโขนง เขตพระโขนง กทม. พลอยเป็นที่รู้จักของคนทั้งหลายด้วย ในฐานะเป็นวัดที่ฝังศพแม่นาค วัดมหาบุศย์นี้ พระศรีสมโภชน์ (พระศรีสมโพธิ) เจ้าคณะวัดสุวรรณฯ เป็นผู้สร้าง ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๒ ในขณะที่ท่านยังเป็นพระมหาบุศย์
ตามความเชื่อของคนไทยร่วมสมัยและตราบจนปัจจุบัน เช่น เชื่อว่าชื่อสี่แยกมหานาค ที่เขตดุสิตในปัจจุบัน มาจากการที่แม่นาคอาละวาดขยายตัวให้ใหญ่ และล้นเกล้ารัชกาลที่ 4 ก็ยังเคยเสด็จทอดพระเนตรด้วย หรือ เชื่อว่าพระรูปที่มาปราบแม่นาคได้นั้นคือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เป็นต้น อีกทั้งยังเชื่อว่า ท่านได้เจาะกะโหลกที่หน้าผากของแม่นาคทำเป็นปั้นเหน่ง เพื่อสะกดวิญญาณแม่นาค และได้สร้างห้องเพื่อเก็บปั้นเหน่งชิ้นนี้ไว้ต่างหาก หรือแม้แต่หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมชก็ยังได้เขียนบันทึกเอาไว้ว่า เมื่อสมัยเด็ก ๆ ท่านเคยเห็นสิ่งที่เชื่อว่าเป็นรอยเท้าแม่นาคบนขื่อเพดานวัดมหาบุศย์ด้วย ซึ่งปัจจุบันนี้ได้ถูกรื้อถอนไปแล้ว
เรื่องราวของแม่นาคมีทั้งที่เป็นนิยายและภาพยนตร์ บุคคลแรกที่ทำให้ "แม่นาคพระโขนง" โด่งดัง
ขึ้นมา ก็คือ...สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงษ์ พระองค์ท่านทรงนำเรื่อง "อีนาคพระโขนง" ออกแสดงเป็นละครเวทีที่โรงละครปรีดาลัยจนเกรียวกราวได้รับการต้อนรับจากดูเป็นอย่างมาก จนต้องแสดงซ้ำอยู่ถึง ๒๔ คืน
จากนั้นมาสู่ยุคภาพยนตร์ แม่นาค . อีนาค . นางนาค . หรือ ย่านาค ก็ถูกนำมาสร้างอีกหลายครั้งหลายหน












แม่นาคพระโขนง ปี 2502
กำกับ โดย เสน่ห์ โกมารชุน
แสดงโดย สังสิทธิ์ สัตยวงศ์ , ปรียา รุ่งเรือง
















แม่นาคคืนชีพ 2503
แสดงโดย อดุลย์ ดุลรัตน์ , วิไลวรรณ วัฒนพานิช





















วิญญาณรักแม่นาค 2505
ปรียา รุ่งเรือง กลับมาในบทแม่นาค ค่าย เสน่ห์ศิลป์ภาพยนตร์

















แม่นาคคะนองรัก 2511
แสดงโดย ปรียา รุ่งเรือง , ชุมพร เทพพิทักษ์ , ฤทธิ ลือชา
ปรียา มารับบทแม่นาค ค่าย เสน่ห์ศิลป์ภาพยนตร์













แม่นาคพระนคร 2513
แสดงโดย มิตร ชัยบัญชา ,อรัญญา นามวงศ์
ค่ายละโว้ ภาพยนตร์











แม่นาคพระโขนง 2516
ค่ายศิลปสยามภาพยนตร์
แสดงโดย สุภัค ลิขิตกุล , ยอดชาย เมฆสุวรรณ



















แม่นาคอเมริกา 2518
แสดงโดย กรุง ศรีวิไล , เปียทิพย์ คุ้มวงศ์

  








แม่นาค บุกโตเกียว 2519
แสดงโดย อุเทน บุญยงค์ , ภาวนา ชนะจิต , อรสา พรหมประทาน
หนังค่าย เมืองทองภาพยนต์














แม่นาคพระโขนง 2521
แสดงโดย ปรียา รุ่งเรือง , สมบัติ เมทะนี , เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์
ปรียา กลับมารับบท แม่นาค











แม่นาคคืนชีพ 2533

                                                                                           







แม่นาคเจอผีปอบ  2535
ยังมีแม่นาคพระโขนงอีกภาค ในปี 2537 แสดงโดย ดาริน กรสกุล , รอน บรรจงสร้าง 
มีการสร้างเป็นละครทีวี ช่อง 5 อีกครั้งในปี 2537 แสดงโดย ลีลาวดี วัชโลบล
กลับมาสร้างเป็นละครทีวีอีกครั้ง  ทางช่อง 3 ปี 2543 แสดงโดย กุลณัฐ ปรียาวัฒน์
และปีเดียวกัน 2543 ช่อง 7 นำมาสร้างอีกครั้ง แสดงโดย พัชราภา ไชยเชื้อ , พีท ทองเจือ









นางนาก 2544
ผู้กำกับ นนทรีย์ นิมิตรบุตร
แสดงโดย ทราย เจริญ ปุระ , วินัย ไกรบุตร















นาค รักแท้ /วิญญาณ / ความตาย 2548
แสดงโดย ศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์ , ภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์














กำกับหญิงอินดี้  พิมพกา
ปี 2545  ทำเป็นละครเวทีโอเปร่า   อำนวยการแสดงโดย สมเถา สุจริตกุล

















พี่มาก....พระโขนง 
ออกฉายในปีพ.ศ. 2556 แนวโรแมนติก  สยองขวัญและตลก
คัดแปลงจากเรื่องแม่นากพระโขนง
กำกับโดย  บรรจง  ปิสัญธนะกุล
มาริโอ้  เมาเร่อ  รับบท พี่มาร์ค
ดาวิกา  โฮร์เน่   รับบท  แม่นาค
กันตพัฒน์  สีดา  รับบท  เอ
ณัฏฐพงษ์  ชาติพงษ์  รับบท  เต๋อ
อัฒรุต  คงราศี  รับบท  ชิน
พงศธร  จงวิลาส  รับบท เผือก



แสดงความเห็น
ในแต่ละปีที่สร้างหนังแม่นาคนั้นล้วนแต่สร้างขึ้นมาด้วยความแปลกใหม่ โดยสิ่งที่เปลี่ยนไปคือการ ถ่ายทำ การใช้เทคโนโลยีต่างๆเข้ามาในการถ่ายทำ รวมไปถึง การพัฒนาด้านการทำหนังขึ้น  สิ่งที่คงเดิมไว้คือตำนานที่เล่ากันมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน อาจจะคลาดเคลื่อนบ้างแต่ยังคงความเป็น    แม่นาค  ไว้เหมือนเดิม




รูป ภาพทั้งหมดอ้างอิงจาก  http://www.oknation.net/blog/print.php?id=94721
ข้อมูลอ้างอิงจาก            http://www.oknation.net/blog/print.php?id=94721


วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556


นักนิเทศศาสตร์ ยุคดิจิตอล






นักนิเทศศาสตร์คือผู้ที่ทำหน้าที่นำข้อมูลข่าวสารมาสื่อความหรือเผยแพร่โดยวิธีการต่างๆ เช่น เขียนเป็นข่าว บทความ บทวิพากษ์วิจารณ์ลงในวารสารและหนังสือพิมพ์ พูดหรืออธิบายรายละเอียดต่างๆ ทางวิทยุหรือโทรทัศน์ จัดทำภาพยนตร์สารคดีเพื่อสื่อความหมาย  หรือ ทำหน้าที่อีกอย่างหนึ่งก็คือการใช้ข่าวสารและข้อเท็จจริง หรือขยายความหมายของเรื่องต่างๆให้ชัดเจนแก่ประชาชน 

       

นักนิเทศศาสตร์  จะใช้ว่า  Communication Arts  หมายถึง ศิลปะของการสื่อสาร หรือ  ศาสตร์ที่ว่าด้วยการติดต่อสื่อสาร
     ปัจจุบันประเทศต่างๆในโลกของเรา ส่วนใหญ่แล้วเริ่มก้าวเข้ายุคไอทีมากขึ้น  ส่วนจะมากน้อยเพียงได้ก็ขึ้นอยู่กับมั่นคงของเศรษฐกิจและความก้าวหน้าของเทคโนโลยี  โดยทั่วไปการพิจารณากันว่าประเทศในยุคเศรษฐกิจแบบใดนั้นจะนิยมพิจารณาจากคนส่วนใหญ่โดยการดูที่ว่าคนส่วนใหญ่นั้นทำงานในด้านใด  อย่างเช่นคนส่วนใหญ่ทำงานในด้านอุตสาหกรรมการผลิตก็จะกำหนดให้ประเทศนั้นอยู่ในยุคอุตสาหกรรมหรือสังคมอุตสาหกรรม แต่ถ้าหากคนส่วนใหญ่ทำงานอยู่ในด้านบริการ หมายถึง การทำงานโดยใช้ความรู้สึกยิ่งกว่าใช้แรงงานแล้วก็นิยมกำหนดว่าประเทศนั้นอยู่ในสังคมสารสนเทศ หรือจะเรียกแบบย่อๆ ว่าอยู่ในยุคไอที นักนิเทศศาสตร์ ดิจิตอล มีการพัฒนาใช้เครื่องมือสื่อสารต่างๆเช่น อินเทอร์เน็ต เฟสบุ๊ค และอื่นๆ ที่เป็น เทคโนโลยี มาช่วยในการทำงานฉับไวขึ้นและมีประสิทธิ์ภาพมากกว่าเดิม






             ปัจจุบันในความเป็นจริงหากคิดเฉพาะการใช้พวกไอทีแล้ว ประเทศไทยก้าวหน้าเรื่องไอทีไปค่อนข้างจะมาก แม้จะยังไม่ค่อยเท่าประเทศอื่นที่พัฒนางานเกี่ยวกับไปทีไปก่อนหน้าประเทศเรามาก  แต่ต้องนับว่าดีมากเลยทีเดียว เพราะหน่วยงานหลายๆแห่งด้วยกันได้ผลักดันและประยุกต์ได้อย่างกว้างขวางมากเลยทีเดียว อย่างเช่น กระทรวงสาธารณสุขได้นำระบบการแพทย์ทางไกล มาใช้เพื่อให้บริการปรึกษาและวินิจฉัยโรคทางไกล  โดยติดตั้งระบบอุปกรณ์ต่างๆผ่านเส้นใยนำแสงไปยังจังหวัดต่างๆรวม 17 จังหวัด
         นอกจากคนไทยจะต้องมีความรู้ด้านไอทีดังที่กล่าวมาแล้วนี้ ยังจำเป็นจะต้องปรับตัวให้สามารถคิดและทำงานในสังคมใหม่คือ สังคมไอทีได้โดยไม่มีปัญหาขัดข้อง การปรับตัวนี้จะแตกต่างกันออกไปสุดแท้แต่พื้นฐานและอาชีพการงาน บางอาชีพอาจจะไม่ต้องปรับตัวมากนัก แต่บางอาชีพอาจจะต้องปรับตัวค่อนข้างมาก เพราะสามารถนำอุปกรณ์ไอทีมาใช้ช่วยในการทำงานได้หลายอย่าง ครั้นจะไม่ใช้ก็ไม่ได้เพราะจะทำให้ไม่สามารถทำงานได้รวดเร็วและมีคุณภาพเท่ากับผู้ที่นำมาใช้ ดังนั้นผู้ประกอบอาชีพที่มีลักษณะเช่นนี้จึงต้องขวนขวายหาทางปรับตัวให้สามารถเรียนรู้และใช้อุปกรณ์ไอทีได้โดยรวดเร็ว มิฉะนั้นก็จะไม่สามารถประกอบอาชีพเดิมต่อไปได้อีก



สรุป
   
  นักนิเทศศาสตร์  ยุคดิจิตอล  มีการนำ ไอทีเครื่องมือสื่อสารต่างๆมาประยุกต์ใช้ในด้านเผยแพร่ ทั้งด้านการข่าว การประชาสัมพันธ์และโฆษณา  การนำเครื่องมือดิจิตอล มาใช้ เกิดประโยชน์มากหรือน้อยแล้วแต่ตัวผู้ใช้ การนำเสนอข่าวการถ่ายภาพจะรวดเร็วและฉับไวมากขึ้นทั้งยังส่งผลถึงถ้าไม่รู้จักใช้สื่อใหม่ๆให้เป็นประโยชน์ คนๆนั้น ก็จะตกยุกต์และก้าวไม่ทันโลกอย่างสิ้นเชิง